วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ฮอร์โมน ว้าวุ่นน ^^

       1. ฮอร์โมนโปรแลกติน (Prolactin hormone) มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของต่อมสร้างน้ำนมในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลังคลอด และมีผลต่อเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตเหมือน GH แต่น้อยกว่า

       2. ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทนฟิน (Adrenocorticotrophin hormone) กระตุ้นอะดรีนัล คอร์แทกซ์ของต่อมหมวกไตให้ทำงานตามปกติ หลั่งฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ จากต่อมหมวกไตส่วนอะดรีนัลคอร์เทกซ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ทำให้สีผิวเข้มคล้ายเมลาโนไซต์

       3. ฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ (Thyroid stimulating hormone) กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมน เช่น ควบคุมการสร้างฮอร์โมนไทรอกซิน

       4. ฮอร์โมนกระตุ้นเมลาโนไซต์ (Melanocyte stimulating hormone) กระตุ้นให้รงควัตถุในเซลล์มีลาโนไซต์กระจายตัวออกนอกเซลล์ ทำให้สีผิวของสัตว์เข้มขึ้น

       5. วาโซเพรสซิน (Vasopressin,ADH) ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำ และความเข้มข้นของเกลือแร่ กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบในผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดบีบตัวส่งผลให้ความดันโลหิตสูง

       6. เบตาเซลล์ (อินซูลิน) มีผลให้น้ำตาล กลูโคส ซึมเยื่อหุ้มเซลล์ของทุกๆเซลล์ได้โดยง่าย ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำลง กระตุ้นและเพิ่มอัตราการใช้น้ำตาลกลูโคสในเซลล์ต่างๆให้มากขึ้น

       7. แอลฟาเซลล์ (กลูคากอน) ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการสลายโปรตีนและเปลี่ยนกรดอะมิโนเป็นกลูโคส กระตุ้นการสลายไขมันในตับ

       8. ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคคอยด์ (Glucocorticoid hormone) กระตุ้นการเปลียนคาร์โบไฮเดรตและไกลโคเจนเป็นกลูโคส ควบคุมสมดุลเกลือแร่

       9. ฮอร์โมนมิเนราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoid hormone) ควบคุมน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เร่งการดูดซึมโซเดียมกลับ เพิ่มการขับโพแทสเซียมออกที่หลอดเลือดฝอยของไตส่วนปลาย

      10. ฮอร์โมนอะดรีนาลิน (Adrenalin hormone) มีผลกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงโดยเพิ่มการเต้นของหัวใจ เพิ่มน้ำตาลในเลือด เพิ่มการใช้ออกซิเจน

      11. ฮอร์โมนนอร์อะดรีนาลิน (Noradrenalin) มีผลคล้ายอะดรีนาลิน แต่อะดรีนาลินมีผลดีกว่า

      12. ฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroid hormone) ควบคุมการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ กระตุ้นการเปลี่ยนไกลโคเจนเป็นกลูโคส มีผลในการเพิ่มปริมาณไมโทคอนเดรีย ควบคุมเมทาบอลิซึมทั่วไปในร่างกาย กระตุ้นเมแทมอร์โฟซิสของสัตว์คครึ่งบกครึ่งน้ำ

      13. ฮอร์โมนแคลซิโตนิน ควบคุมเมแทบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสเฟต ทำให้ระดับแคลเซียมและฟอสเฟตในเลือดลดลง ช่วยป้องกันการทำลายกระดูกมากเกินไปในระยะมีครรภ์

      14. ฮอร์โมนพาราทอร์โมน (Patathormone hormone) ทำให้เกิดการทำลายของกระดูก เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมกลับที่หลอดเลือดฝอยของไต

      15. ฮอร์โมนเมลาโตนิน ควบการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ร่วมกับต่อมอื่นๆ ช่วงก่อนวัยหนุมวัยสาวจะยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์

      16. ฮอร์โมนไทโมซิน (Thymocin hormone) สร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมในร่างกายคน

      17. ฮอร์โมนเอสโตเจน (Estrogen hormone) เพศหญิงทำให้เกิดการขยายใหญ่ของเต้านม ทำให้มีการเจริญของกล้ามเนื้อเยื่อบุท่อนำไข่

      18. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน  (Progesterone hormone) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกชั้นใน ทำให้ท่อนำไขหดตัวเร็วขึ้น กระตุนการสร้างน้ำนม ยับยั้งการหลั่งโกนาโดโทรฟิน

      19. ฮอร์โมนกระตุ้นฟอลลิเกิล (Follicle stimulating hormone) กระตุ้นฟอลลิเกิลในรังไข่ให้เจริญเติบโต ในเพศชายกระตุ้นหลอดสร้างตัวอสุจิของอัณฑะให้เจริญเติบโตและสร้างอสุจิขึ้น

      20. ฮอร์โมนลูติไนซ์ (Luteinzing hormone) เพศหญิงกระตุ้นการสร้างฟอลลิเกิลร่วมกับ FSH กระตุ้นให้เกิดคอร์พัสลูเตียม เพศชายกระตุ้นให้ตัวอสุจิเจริญเต็มที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น