วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ฟังเพลงดังๆ อันตราย...ทำร้ายสุขภาพหู :/

           สำหรับผู้ที่มีดนตรีในหัวใจ การฟังเพลงย่อมเป็นกิจกรรมสุดโปรดที่หลายๆ คนชื่นชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสวมใส่หูฟังและเปิดเพลงให้ดังๆ เพื่อดื่มด่ำกับเสียงดนตรีได้อย่างเต็มอรรถรส เรียกได้ว่าดนตรียิ่งชัด เสียงยิ่งดัง ไม่มีเสียงด้านนอกเล็ดลอดมารบกวนได้เลยยิ่งดี แต่ในความเป็นจริง พฤติกรรมดังกล่าวกลับเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับสุขภาพหู ที่อาจรุนแรงจนถึงขั้นหูหนวกถาวรได้
            เพราะในความเป็นจริงหูของมนุษย์สามารถรับฟังเสียงที่มีความดังไม่เกิน 80 เดซิเบล แต่จากพฤติกรรมการฟังเพลงโดยใช้หูฟังจากเครื่องเล่นเพลงหรือโทรศัพท์ รวมไปถึงการฟังเพลงโดยใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อจากบลูทูธ ผู้ฟังมักจะเปิดเพลงดังกว่าในระดับที่ปลอดภัย และมักฟังในระยะเวลานาน ซึ่งโดยทฤษฎีพบว่าการได้รับฟังเสียงถึงระดับ 105 เดซิเบล อาจทำลายประสาทการรับเสียง หรือส่งผลกระทบต่อแก้วหู จนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหูในระยะยาวได้ นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์ไร้สายอื่นๆ อย่างบลูทูธนั้นอาจส่งผลร้ายต่อสมองเนื่องจากมีโอกาสที่จะได้รับรังสีจากคลื่นวิทยุอีกด้วย

           ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ คือการเป็นโรคประสาทหูเสื่อม ซึ่งทำให้การได้ยินเสียงลดลง จนกระทั่งไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการรับฟังเสียงดังและฟังในระยะเวลาที่นานจนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดนิสัยฟังเพลงเสียงดังๆ ผ่านหูฟังตลอดเวลา การเที่ยวกลางคืนเป็นประจำและอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง อันเป็นเหตุให้เซลล์รับคลื่นเสียงในความถี่ 2,000-6,000 เฮิรตซ์ ถูกกระทบกระเทือนจนไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ทำให้ลำบากต่อการพูดคุยและต้องฟังเสียงที่ดังขึ้นเรื่อยๆ

            ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดังมากจนเกินไป ที่สำคัญคือปรับลดพฤติกรรมการฟังเพลงโดยปรับลดระดับเสียง และลดระยะเวลาในการฟังลง เพื่อถนอมสุขภาพหู ให้เราสามารถรับฟังและสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ฮอร์โมน ว้าวุ่นน ^^

       1. ฮอร์โมนโปรแลกติน (Prolactin hormone) มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของต่อมสร้างน้ำนมในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลังคลอด และมีผลต่อเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตเหมือน GH แต่น้อยกว่า

       2. ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทนฟิน (Adrenocorticotrophin hormone) กระตุ้นอะดรีนัล คอร์แทกซ์ของต่อมหมวกไตให้ทำงานตามปกติ หลั่งฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ จากต่อมหมวกไตส่วนอะดรีนัลคอร์เทกซ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ทำให้สีผิวเข้มคล้ายเมลาโนไซต์

       3. ฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ (Thyroid stimulating hormone) กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมน เช่น ควบคุมการสร้างฮอร์โมนไทรอกซิน

       4. ฮอร์โมนกระตุ้นเมลาโนไซต์ (Melanocyte stimulating hormone) กระตุ้นให้รงควัตถุในเซลล์มีลาโนไซต์กระจายตัวออกนอกเซลล์ ทำให้สีผิวของสัตว์เข้มขึ้น

       5. วาโซเพรสซิน (Vasopressin,ADH) ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำ และความเข้มข้นของเกลือแร่ กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบในผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดบีบตัวส่งผลให้ความดันโลหิตสูง

       6. เบตาเซลล์ (อินซูลิน) มีผลให้น้ำตาล กลูโคส ซึมเยื่อหุ้มเซลล์ของทุกๆเซลล์ได้โดยง่าย ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำลง กระตุ้นและเพิ่มอัตราการใช้น้ำตาลกลูโคสในเซลล์ต่างๆให้มากขึ้น

       7. แอลฟาเซลล์ (กลูคากอน) ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการสลายโปรตีนและเปลี่ยนกรดอะมิโนเป็นกลูโคส กระตุ้นการสลายไขมันในตับ

       8. ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคคอยด์ (Glucocorticoid hormone) กระตุ้นการเปลียนคาร์โบไฮเดรตและไกลโคเจนเป็นกลูโคส ควบคุมสมดุลเกลือแร่

       9. ฮอร์โมนมิเนราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoid hormone) ควบคุมน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เร่งการดูดซึมโซเดียมกลับ เพิ่มการขับโพแทสเซียมออกที่หลอดเลือดฝอยของไตส่วนปลาย

      10. ฮอร์โมนอะดรีนาลิน (Adrenalin hormone) มีผลกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงโดยเพิ่มการเต้นของหัวใจ เพิ่มน้ำตาลในเลือด เพิ่มการใช้ออกซิเจน

      11. ฮอร์โมนนอร์อะดรีนาลิน (Noradrenalin) มีผลคล้ายอะดรีนาลิน แต่อะดรีนาลินมีผลดีกว่า

      12. ฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroid hormone) ควบคุมการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ กระตุ้นการเปลี่ยนไกลโคเจนเป็นกลูโคส มีผลในการเพิ่มปริมาณไมโทคอนเดรีย ควบคุมเมทาบอลิซึมทั่วไปในร่างกาย กระตุ้นเมแทมอร์โฟซิสของสัตว์คครึ่งบกครึ่งน้ำ

      13. ฮอร์โมนแคลซิโตนิน ควบคุมเมแทบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสเฟต ทำให้ระดับแคลเซียมและฟอสเฟตในเลือดลดลง ช่วยป้องกันการทำลายกระดูกมากเกินไปในระยะมีครรภ์

      14. ฮอร์โมนพาราทอร์โมน (Patathormone hormone) ทำให้เกิดการทำลายของกระดูก เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมกลับที่หลอดเลือดฝอยของไต

      15. ฮอร์โมนเมลาโตนิน ควบการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ร่วมกับต่อมอื่นๆ ช่วงก่อนวัยหนุมวัยสาวจะยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์

      16. ฮอร์โมนไทโมซิน (Thymocin hormone) สร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมในร่างกายคน

      17. ฮอร์โมนเอสโตเจน (Estrogen hormone) เพศหญิงทำให้เกิดการขยายใหญ่ของเต้านม ทำให้มีการเจริญของกล้ามเนื้อเยื่อบุท่อนำไข่

      18. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน  (Progesterone hormone) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกชั้นใน ทำให้ท่อนำไขหดตัวเร็วขึ้น กระตุนการสร้างน้ำนม ยับยั้งการหลั่งโกนาโดโทรฟิน

      19. ฮอร์โมนกระตุ้นฟอลลิเกิล (Follicle stimulating hormone) กระตุ้นฟอลลิเกิลในรังไข่ให้เจริญเติบโต ในเพศชายกระตุ้นหลอดสร้างตัวอสุจิของอัณฑะให้เจริญเติบโตและสร้างอสุจิขึ้น

      20. ฮอร์โมนลูติไนซ์ (Luteinzing hormone) เพศหญิงกระตุ้นการสร้างฟอลลิเกิลร่วมกับ FSH กระตุ้นให้เกิดคอร์พัสลูเตียม เพศชายกระตุ้นให้ตัวอสุจิเจริญเต็มที่

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รายงานความคืบหน้าโครงงานครั้งที่ 1 วันที่ 5 สิงหาคม 2556

ชื่อโครงงาน  crabnumnim
สมาชิกในกลุ่ม 
1.นางสาว จันทร์จิรา ปูทองจันทร์  เลขที่ 22 ชั้น ม .6/2
2.นางสาว สุธาสินี    ชูมนต์           เลขที่ 23 ชั้น ม. 6/2
3.นางสาว จริยา      หนูแป้น         เลขที่ 42 ชั้น ม. 6/2
ความคืบหน้า
ทางกลุ่มของข้าพเจ้าได้ดำเนินการไปแล้วดังนี้
- สืบค้นเกี่ยวกับความเป็นอยุ่อาศัยของปูนิ่ม

- ได้สอบถามเกี่ยวกับการเลี้ยงปูนิ่มที่บ้านหัวทาง
- กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะทำบล็อค

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Friends is my family ^^



เพราะเพื่อน ..
เหมือนเสี้ยวหนึ่งของหัวใจ
รัก..ที่มีความสุข เเม้จะไม่มีสิ่งใดตอบเเทน
รัก..ที่ที่ทำให้ยิ้มไปด้วยกันเมื่อเรายิ้ม เเละร้องให้ด้วยกันเพราะเราเศร้า
ไม่ได้เกิดมาพร้อมหน้าที่ .. อย่างคำว่า .. พ่อแม่
ไม่ได้จบลงพร้อมหน้าที่ .. อย่างคำว่า .. แฟน

แต่เกิดจาก ..
การกระทำซึ่งกันและกัน
จะอยู่หรือไป .. ใช้ "ใจ" เป็นเกณฑ์
จะอีกกี่นาน .. เพื่อนก็ยังเป็นทั้งรอยยิ้มและเสียงหัวเราะที่ไม่มีวันเลือนหาย
เพื่อนคือคนที่เรามั่นใจ อยากไปหามากที่สุด ไม่ว่าจะยามทุกข์หรือยามสุข
เพื่อนคือคนที่เราไม่ต้องนอนร้องไห้ คอยโทรศัพท์ทั้งคืน .. เพื่อนก็โทรมาหา

ฐานะ .. ไม่ใช่ตัววัดว่าใครเหมาะสมจะเป็นเพื่อนใคร
หน้าตา ..ไม่ใช่มาตรฐานบอกว่า ใครควรจะเป็นเพื่อนใคร
แต่น้ำใจ .. จะเป็นเครื่องชี้ให้เรารู้ว่า ใครที่ควรจะเป็นเพื่อนของเรามากกว่า

เพื่อนคือ .. คนที่แอบมาปรุงแต่งชิวิตเรา ซะจนกลายเป็นอาหารจานแปลก
มีทั้ง หวาน ขม อม เปรี้ยว
เดี๋ยวเติมความห่วงใย เดี๋ยวใส่ความรัก
หมักความผูกผันจนได้ที่ 
สุดท้ายก็กลายเป็นอาหารจานดี ที่ไม่มีผีกชีโรยหน้า 
แต่ว่าเติมความจริงใจได้จนเต็มจาน

เพื่อน .. ก็เหมือนเสื้อตัวเก่ง
ที่เราจะหยิบมาใส่ทุกครั้งที่เราต้องการรความมั่นใจ
และเมื่อพ้นเวลานั้นไป..
เสื้อตัวนี้ก็ยังแขวนอยู่ในตู้เสื้อผ้าใบเดิมเสมอ
เหมือนกับเพื่อนที่จะอยู่กับเราในวันที่เราไม่สบายใจ 

เพื่อนมีอะไรหลายอย่างที่เราไมได้จากใคร "รักมากนะเพื่อน นน นช้านน น ><"

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความรู้สึกต่อกีฬาสี

กีฬาสี 2556
กีฬาสีปีนี้ให้ความรู้สึกหลากหลาย มีทั้งความผูกพันธ์ มิตรภาพ ความไม่เข้าใจกัน 
ความขัดแย้ง แต่เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องร่วมกันแก้ เมื่อแก้เสร็จสิ่งที่ออกมา แม้ว่าจะไม่ได้ตามที่หวัง
แต่ก็ภูมิใจที่ได้เห็นความสำเร็จที่เกิดขึ้น กีฬาสีปีนี้จะอยู่ในความทรงจำตลอดไป

มารู้จักกันดีฟ่าาาา :)

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาว สุธาสินี ชูมนต์
อายุ 17 ปีเกิด วันที่ 1 ตุลาคม 2538ที่อยู่ 265/8 ถนน ปานชูรำลึก ตำบล พิมาน อำเภอ เมือง จังหวัด สตูล 91000สิ่งที่ชอบ สุนัข สิ่งที่ไม่ชอบ กบ อึ่งอ่าง คางคกสีที่ชอบ สีชมพูชอบการ์ตูน โคนัน


วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บันทึกความดีประจำวันจันทร์ 24 มิถุนายน 2556

1.รับน้องมาส่งที่โรงเรียน
2.ล้างจาน
3.ร้องเพลงชาติ
4.ช่วยแม่เก็บบ้าน
5.กวาดขยะ